วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีการสอนแบบเกมจำลองสถานการณ์ (Simulation Gaming)

วิธีการสอนแบบเกมจำลองสถานการณ์ (Simulation Gaming)
      
                                                                                                                              โดย น้ำทิพย์  ม่วงปลอด



การสอนโดยใช้เกมจำลองสถานการณ์

เทคนิคการสอน
          การสอนแบบเกมจำลองสถานการณ์ (Simulation Gaming) เป็นวิธีสอนที่พัฒนามาจากการแสดงบทบาทสมมติ การเล่นเกม และการจำลองสถานการณ์
          เกมจำลองสถานการณ์ คือ วิธีสอนที่ผู้สอนนำเอาสถานการณ์จริงมาจำลองไว้ในห้องเรียนพยายามให้มีสภาพเหมือนจริงมากที่สุด และกำหนดกติกา กฎ หรือเงื่อนไขสำหรับเกมนั้น แล้วแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆ เข้าไปแข่งขันหรือเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ผู้เรียนจะต้องเผชิญกับปัญหาและต้องแข่งขันกับฝ่ายตรงข้ามจึงต้องมีการตัดสินใจของกลุ่มเพื่อมุ่งเอาชนะกัน

การสอนแบบเกมจำลองสถานการณ์ (Simulation Gaming)




 







วิธีการสอนแบบกรณีศึกษา (Case Based Learning)

วิธีการสอนแบบกรณีศึกษา (Case Based Learning)

  โดย น้ำทิพย์  ม่วงปลอด







วิธีการสอนแบบกรณีศึกษา (Case Based Learning)

กรณีศึกษาที่ครูน่านำสอน 

ทฤษฎีต่างๆ ในการทำงานเกิดขึ้นมาจากการที่คณะได้ทำงานนำมาสรุปเป็นบทเรียนเป็นทฤษฎีจึงเป็น “ทฤษฎีที่เกิดจากทฤษทำ” ไม่ใช่มาจากการท่องจำตำรา

                                                                                                                                         บอกกล่าวเล่านำเรื่อง
               
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ถึง 2540  ผมมีโอกาสได้เข้าไปร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอน  กรณีศึกษาป่าชุมชน  กับเพื่อนครูที่อำเภอเวียงป่าเป้า  จังหวัดเชียงราย  โดยมี  ผศ.ดร.สุวัฒนา  สุวรรณเขตนิคม   ดร.เบญจลักษณ์  น้ำฟ้า  และอาจารย์สมชัย  แซ่เจีย  (ศน.  เวียงป่าเป้า  ในขณะนั้น)  เป็นผู้นำในการจัดการเรียนรู้  สิ่งหนึ่งที่ผมพบเห็นคือไม่มีหนังสือตำราวิชาการมานั่งกางอ่านเพื่อนำแบบไปสอน  ไม่มีทฤษฎีที่มาคอยขีดกั้นให้เราเดินไปตามทางที่กำหนด  ไม่มีคนมาคอยจับผิดแต่มีการร่วมเรียนรู้กันระหว่างผู้นำการจัดการเรียนรู้  ผู้สอน  ผู้เรียน  และชุมชนที่เป็นผู้เรียนรู้  และผู้เชี่ยวชาญหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น  บทเรียนที่เราพบเห็นจากการปฏิบัติงาน  คือ  ข้อมูลความรู้ที่เราได้มาแล้วเราร่วมกันเสวนาสรุปเป็นองค์ความรู้นำไปปฏิบัติต่อ  แล้วมาเสวนาซ้ำสรุปเป็นทฤษฎีของงานชิ้นนั้นๆ  ดังนั้น  ทฤษฎีต่างๆ  ในการทำงานเกิดขึ้นมาจากการที่คณะได้ทำงานนำมาสรุปเป็นบทเรียนเป็นทฤษฎีจึงเป็น “ทฤษฎีที่เกิดจากทฤษทำ”  ไม่ใช่มาจากการท่องจำตำรา
                ผมประทับใจต่อกระบวนการเรียนรู้ที่เราจัดขึ้นมา  ซึ่งจะขอนำมาเล่าสู่กันและกัน  ดังนี้
                การเตรียมการสอน  คณะครูผู้สอนจะเตรียมการสอน  โดยการนั่งเสวนาถกและเถียงกันว่า  ทำอย่างนี้  ทำทำไม ทำแล้วจะหวังผลใด  ทำอย่างใดจึงน่าจะเกิดผลอย่างนี้  เมื่อตกลงกันได้  ก็กำหนดกิจกรรมนำสอน  สิ่งที่ผมประทับใจมาก  คือ  ทดลองสอนกันก่อน  ก็ผู้ร่วมเสวนานั่นแหละผลัดกันเป็นครู  เป็นนักเรียน  ดูว่ามันติดขัดตรงไหนปรับแก้ไขให้ดูราบรื่นขึ้น  ตกลงได้ที่ก็ร่วมกันจัดทำแผนการเรียนรู้  แล้วนำไปสอน  ตกกลางคืนนำผลที่สอนมาเสวนาหาจุดเด่นจุดด้อยกัน  บางอย่างบางประเด็นเราสามารถเขียนสรุปเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีสอนได้
                จุดเด่นของการสอนวันนี้  เรานำไปเติมเต็มในกิจกรรมพรุ่งนี้  จุดอ่อนของวันนี้เรานำไปปรับปรุงในกิจกรรมวันพรุ่งนี้  เราทำกันอย่างนี้  เราเตรียมการสอนกันอย่างนี้  ผลที่ได้รับคือ  นักเรียนเก่ง  ดี  มีความสุข
                ที่บอกว่า  เก่ง  เพราะเราพบว่าเด็กๆ สามารถเรียนรู้จักตนเองควบคู่ไปกับเรียนรู้เนื้อหาสาระที่กำลังเรียนอยู่  ทั้งนี้เพราะบทเรียน  กิจกรรมการเรียน  เราเตรียมสอนคนไม่ใช่สอนหนังสือ  นักเรียนเรียนไปแต่ละวันจะต้องร่วมกันสรุปว่า
-          ได้เรียนรู้อะไรในเนื้อหาวิชา
-          ได้เรียนรู้อะไรที่เกี่ยวกับตนเองบ้าง
-          ได้เรียนรู้เรื่องราวเหล่านั้นด้วยวิธีการใด
-          มีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนรู้ครั้งนี้
นี่คือบทสรุปที่ดีที่ครูผู้สอน  ได้แทรกเข้าไปในการเรียนรู้  เรียกว่า  กระตุ้นคุณธรรมจริยธรรม  ให้ผู้เรียนเขย่าตัวเองให้ผุดพรายขึ้นมาในตัวตนของผู้เรียนเอง
                การถามถึงความรู้สึกและรู้ได้อย่างไร  คือ  การเขย่าสติสัมปชัญญะของผู้นั้นให้ตื่นขึ้นมาบ่อยๆ ถ้าเขารู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้  ทรงสติที่สงบได้คือคนเก่ง
                ดี  ตรงที่ผู้เรียนรู้ตนเองว่า  เป็นใคร  กำลังทำอะไร  การรู้ตนเองของผู้เรียนส่งผลให้ผู้เรียนตั้งใจเรียน  ตั้งใจร่วมกิจกรรมกับชุมชนจนชุมชนยอมรับและเข้ามาร่วมมือ  ร่วมใจ  ร่วมเรียนรู้  และร่วมพัฒนากิจกรรมชุมชนอย่างต่อเนื่อง  นี่คือความดี
                มีสุข  เมื่อผลการเรียนเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม  เป็นที่ยอมรับของชุมชน  ของสังคม  ทั้งภายในจังหวัดและประเทศ  ทุกคนพอใจก็เป็นสุข
                บทเรียนที่ครูยึดวิธีการค้นหาความรู้มากกว่าเนื้อหาความรู้นั้น  ส่งผลให้ครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติวิชา  และธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียน  ส่งผลให้เรียนแบบไม่เครียด  แต่สามารถไปเสริมในพฤติกรรมผู้เรียนให้เป็นคนดีได้  คือ
1. มีนิสัยรับผิดขอบต่องาน  เช่น  รู้จักจัดการกับข้อมูลความรู้ที่ได้มาอย่างเป็นระบบ
2. มีความกล้าที่จะนำเสนอข้อมูลต่อชุมชน
3. รู้จักนำวิธีการเรียนรู้ที่เรียนอยู่ไปหาความรู้ในเรื่องอื่นๆ ได้
4. รู้จักตนเองว่าเป็นใคร  ทำอะไร  ส่งผลให้สมาธิการเรียนไม่สั้น  ทำงานตามหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาป่าชุมชน  ที่อำเภอเวียงป่าเป้า  จังหวัดเชียงรายนั้น  ผมเห็นว่ามีประโยชน์ต่อบ้านเมืองมาก  และผมคิดต่อไปว่า  ไม่จำเป็นต้องศึกษากรณีป่าชุมชน  ศึกษาเรื่องอื่นๆ ก็ได้  เช่น  กรณีศึกษาชุมชนของเรา  กรณีศึกษาตลาดชุมชน  กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนเรากับชุมชนใกล้เคียง ฯลฯ  เพียงแต่ครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องตระหนักรู้ได้แน่ชัดว่า  การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา   ไม่ใช่การเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Work)  แต่ทั้งสองแบบนี้มีความเนื่องกันอยู่ในบางสิ่งบางอย่าง  หมายความว่าอาศัยกันได้แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
การเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นการเรียนรู้ที่จะต้องเจาะลึกถึงเรื่องราวในอดีต  เพื่อนำมารู้จักปัจจุบันและอาจฝันไปถุงอนาคตได้  ดังนั้นผู้สอนและผู้เรียนควรมีพื้นฐานด้านสังคมศึกษาและวิทยาศาสตร์กักตุนไว้ในตนให้มากพอสมควร  เพราะความรู้ด้านนี้จะช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเข้าถึงแก่นความเป็นไปได้ของเรื่องราวนั้นๆ
โลกของการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา  เป็นโลกที่ผู้สอนจะต้องนำผู้เรียนเดินย้อนรอยกลับสู่อดีต  เพื่อค้นหาที่มาของสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาในปัจจุบัน  ทำให้มองเห็นสภาพปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ตรงนี้เองที่สามารถกล่าวได้ว่าศิลปะแห่งการย้อนรอยอดีตสู่ปัจจุบันด้วยกลวิธีการตั้งคำถาม  มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ยิ่งนักและกล้ากล่าวได้ว่ามีความชำนาญในการตั้งคำถามสืบค้นคำตอบนั้น  สามารถนำมาใช้ในการแกะรอยหรือเจาะเรื่องราวในวรรณกรรมและวรรณคดีต่างๆ ได้อย่างมีคุณค่าต่อการเรียนรู้
มีอยู่หลายครั้งที่คณะครูเดินทางไปดูการสอนของผมที่โรงเรียนคุรุชนพัฒนา  บางคนถามผมว่า  ผมสอนแบบ Story line ใช่ไหม  ผมตอบว่า  ใช่  บางคนถามผมว่า  ผมสอนแบบโครงงานใช่ไหม  ผมตอบว่า  ใช่  บางคนถามว่า  ผมสอนแบบใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)  ใช่ไหม  ผมตอบว่า  ใช่  และบางคนถามถึงทฤษฎีการเรียนแบบร่วมมือ  (Cooperative learning)  ใช่ไหม  ผมก็ตอบว่าใช่อีก  แม้จะถามว่าผมสอนแบบ Play & Learn  ใช่ไหม  ผมก็ตอบว่าใช่อีก  เพราะเมื่อผู้ถามรู้อะไร  เราอธิบายต่อเติมให้เขาก็จะเข้าใจเรื่องนั้นได้กระจ่างยิ่งขึ้น  ดีกว่าเรายัดเยียดสิ่งใหม่ให้เขาสับสน  ทีนี้ถามว่ากรณีศึกษาใช้ทฤษฎีใด  ตอบได้ว่าทุกทฤษฎีที่กล่าวถึงใช้ได้ทั้งนั้น  ทุกรูปแบบการเรียนรู้ที่กล่าวถึงข้างต้น  มีซ่อนอยู่ในกรณีศึกษาทั้งนั้น  กรณีศึกษาเปรียบเหมือนแม่น้ำที่มีลำธารซ่อนอยู่ข้างใน  และในทำนองเดียวกันนั้น  ในลำธารมีแม่น้ำซ่อนอยู่  ในขณะที่ผมนำวิธีการเรียนรู้แบบกรณีศึกษามาจัดให้ลูกศิษย์ของผมเรียนรู้ที่โรงเรียนคุรุชุมชนพัฒนานั้น  ผมเองก็เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนขึ้นมาด้วย  จากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กๆ พบว่า
บางครั้งเด็กๆ จะต้องค้นหาคำตอบด้วยวิธีการสืบหาข้อมูลจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน  ได้คำตอบมาแล้วยังไม่จุใจ  ก็ไปค้นหาเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ อีก  ผมจึงเรียกวิธีเรียนนี้ว่า  เรียนแบบสืบค้น
บางครั้งเด็กๆ แว่วๆ ว่าข้อมูลนั้นน่าจะมีอีกประเด็นหนึ่ง  นักเรียนก็จะไปสืบหาความจริงจนรู้ที่มาแล้วจะไปสอบถามหาความรู้เพิ่มเติมจากผู้รู้  ผมเรียกว่า  เรียนแบบสืบสอบ
บางครั้งเด็กๆ เที่ยวสอบถามหาข้อมูลจากผู้รู้จนรู้ที่มาแล้ว  เขาก็จะเข้าไปในห้องสมุด  ค้นหาคำตอบ  ผมเรียกว่า  เรียนแบบสอบค้น
คำเหล่านี้  ผมเรียนรู้จากการสังเกตวิธีการเรียนรู้ของเด็กๆ ลูกศิษย์ของผม  แล้วผมก็นำมาหาชื่อเขียนบันทึกไว้
อีกอย่างหนึ่งผมเห็นว่า  การจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษานี้  สามารถนำสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 สาระ  มาหลอมรวมสอนด้วยการคลุกโขลกเข้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน  จัดกิจกรรมเรียนรู้ให้ลื่นไหลไปตามสถานการณ์ที่เป็นจริง  (ไม่ใช่ผูกเรื่องแบบ Story line)  ใช้ความจริงของความเป็นจริงในเรื่องที่เรียนรู้เป็นสถานการณ์เรียนรู้  ผู้เรียนค้นหาความรู้จากความเป็นจริง  นำมาเสวนา  หาข้อสรุปเป็นเรื่องราวการเรียนรู้ของตนเองได้
ผมได้นำวิธีการเรียนรู้แบบกรณีศึกษามาใช้สอนให้ผู้เรียน  เรียนรู้  เรื่องราวในวรรณกรรมและวรรณคดี  โดยที่ผู้เรียนตั้งคำถามเจาะลึกถึงเรื่องที่อยากรู้ในเรื่องนั้นๆ แล้วนำมาเขียนถ่ายทอดสื่อสารให้ผู้อ่านรับทราบกันได้  รวมถึงสามารถเขียนบทกวีน้อย  ถ่ายทอดความรู้สึกลึกๆ ของตน  เผยแพร่ในรูปแบบบทเพลงจากกำปง  (หมู่บ้าน)  มาแล้ว  โดยนำกรณีศึกษานี้แหละไปฝึกไปสอนแบบสอดแทรกวิธีการเรียนเข้าไปในจิตวิญญาณของผู้เรียน
เมื่อผมเห็นคุณค่าของกรณีศึกษา  ผมจึงกล้าที่จะเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา  เหมือนกับที่ผมเคยเขียน Story line มาก่อนแล้ว
กรณีศึกษาที่ครูน่านำสอน  ไม่ใช่หนังสือที่รวบรวมทฤษฎีการสอน  หรือวิธีการสอนจากตำราต่างประเทศ  แต่เป็นการเปิดเผยบันทึกการสอนของครูคนหนึ่งในสยามประเทศมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  เรื่องราวเล่มนี้เป็นเรื่องที่เกิดจากการปฏิบัติตัวจริง  แล้วนำมาสรุปเป็นทฤษฎี  ไม่ใช่นำทฤษฎีไปทดลองแล้วสรุปรับรองทฤษฎีว่าใช่ว่าจริง
และด้วยความรู้สึกลึกๆ ผมเห็นว่ามีคุณครูมากมายที่สามารถคิดวิธีสอนได้ด้วยตนเอง  ผมอยากเห็นตำราการสอนของเพื่อนครูเหล่านั้นเกิดขึ้นในแผ่นดินสยามประเทศมากกว่านำตำราฝรั่งมาอบรมวิธีการสอนเพียงชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็หมดไป  ดั่งที่ได้ดำเนินการมาแล้ว

ดูวิธีการสอนแบบกรณีศึกษา (Case Based Learning)









วิธีสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)

วิธีสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)
โดย  น้ำทิพย์  ม่วงปลอด

วิธีสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Instruction
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Instruction
การสอนโดยใช้โครงงาน                                                                            
                    ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 มุ่งเน้นให้ครูสอนนักเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
การสอนโดยวิธีโครงงานเป็นวิธีการหนึ่งที่สนองเจตนารมณ์ของการจัดการศึกษาเพราะครูมุ่งเน้นให้เกิดกับผู้เรียน  ผู้เรียนมีกรอบการทำงานภายใต้จุดประสงค์ของการเรียนรู้ในเนื้อหาแต่ละเรื่อง  และนักเรียนอาสาสมัครทำโครงงานตามความสนใจจากการสังเกต จากความสนใจส่วนตัว  โครงงานถือเป็นงานวิจัยเล็ก ๆ สำหรับนักเรียน เป็นการแก้ปัญหาหรือข้อสงสัย หาคำตอบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์คือ เมื่อนักเรียนเกิดปัญหา  นักเรียนก็หาคำตอบ  ออกแบบทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าปัญหานั้นจริงหรือไม่ จากนั้นนักเรียนก็ทำการทดลองหรือศึกษาค้นคว้าเพื่อสรุปผล นำผลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  การสอนโดยใช้โครงงานของครูควรจะสอนภายใต้เงื่อนไขว่า  การที่นักเรียนมีทักษะในการคิดหรือการตอบปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นมาเองพร้อมกับตัวเด็ก  แต่จะเกิดขึ้นมาจากการสอน หรือฝึกฝนให้นักเรียน
ครูจะต้องดูแลนักเรียนให้เลือกทำโครงงานที่เหมาะสมกับความสามารถ เพื่อเขาได้ทำโครงงานจนสำเร็จครบขั้นตอน ทั้งนี้เพราะการเริ่มต้นด้วยความสำเร็จย่อมเป็นการเริ่มต้นที่ดีเสมอ
                   ในการที่นักเรียนจะทำโครงงานในรายวิชาใด นักเรียนจะเป็นผู้ที่เลือกหัวข้อที่จะศึกษาค้นคว้า ดำเนินการวางแผน ออกแบบประดิษฐ์ สำรวจ ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการแปรผล สรุปผลและการเสนอผลงาน โดยตัวนักเรียนเอง ครูเป็นเพียงที่ปรึกษา ดูแลเท่านั้น   การสอนให้นักเรียนได้เรียนวิชาโครงงานนั้น นอกจากจะมีคุณค่าทางด้านการฝึกให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญ และมีความมั่นใจในการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองแล้ว ยังจะให้คุณค่าอื่น ๆ คือ
                   1. รู้จักตอบปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นคนที่หลงเชื่องมงายไร้เหตุผล
                   2. ได้ศึกษาค้นคว้า หาความรู้ในเรื่องที่ตนสนใจได้อย่างลึกซึ้ง กว่าการสอนของครู
                   3. ทำให้นักเรียนได้แสดงความสามารถพิเศษของตนเอง
                   4. ทำให้นักเรียนสนใจเรียนในรายวิชานั้น ๆ มากยิ่งขึ้น
                   5. นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
                   6. สร้างความรักสามัคคีในหมู่คณะ
                   7. นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่งานที่ได้รับมอบหมาย






การสอนโดยใช้โครงงาน 


วิธีสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based Learning)

วิธีสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based Learnin
                โดย น้ำทิพย์  ม่วงปลอด








การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน




1. ความเป็นมาของการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ปัญหาฐาน


มัณฑรา ธรรมบุศย์ (2545 : 11-7) กล่าวว่าการศึกษาความเป็นมาของ PBL สามารถย้อนรอยอดีตไปถึงแนวคิดของนักการศึกษาในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 จอห์น ดิวอี (John Dewey) นักการศึกษาชาวอเมริกันซึ่งเป็นผู้ค้นคิดวิธีสอนแบบแก้ปัญหา และเป็นผู้เสนอแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดจากการลงมือทำด้วยตัวเอง (Learning by Doing) แนวคิดของดิวอีได้นำไปสู่แนวคิด ในการสอนรูปแบบต่างๆที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แนวคิด PBL ก็มีรากฐานแนวคิดมาจากดิวอีเช่นเดียวกัน PBL มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรก โดยคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Faculty of Health Sciences) ของ มหาวิทยาลัย McMaster ที่ประเทศแคนนาดาได้นำมาใช้ในกระบวนการติว (Tutorial Process) ให้ กับนักศึกษาแพทย์ฝึกหัด วิธีดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นรูปแบบ (Model) ที่ทำให้มหาวิทยาลัยในสหรัฐ อเมริกานำไปใช้เป็นแบบอย่างบ้าง โดยเริ่มจากปลาย ค.ศ. 1960 มหาวิทยาลัย Case Western Reserve ได้นำมาใช้เป็นแห่งแรก และได้จัดตั้งเป็นห้องทดลองพหุวิทยาการ (Multidiplomacy Laboratory) เพื่อเป็นห้องปฏิบัติการสำหรับรูปแบบการสอนใหม่ๆ รูปแบบการสอนที่มหาวิทยาลัย Case Western Reserve พัฒนาขึ้นมานั้น ได้กลายมาเห็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา ทั้งในระดับมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตวิทยาลัย ในช่วงปลาย ศตวรรษที่ 60 มหาวิทยาลัย McMaster ได้พัฒนาหลักสูตรแพทย์ (Medical Curriculum) ที่ใช้ PBL ในการสอนเป็นครั้งแรกทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นที่ยอมรับและรู้จักกันทั่วโลกว่าเป็นผู้นำ
PBL (World Class Leader) ในประเทศไทย การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานเริ่มใช้ครั้งแรกในหลัก สูตรแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2531 และประยุกต์ใช้ในหลักสูตรสาธารณ สุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ ทั้งนี้การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นวิธีการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่นำมาปรับใช้ในหลายๆ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานนี้ได้รับ การยอมรับว่าเป็นการเรียนการสอนที่ให้ประสบการณ์ท้าทายความคิด ลักษณะนิสัยและการปฏิบัติ ร่วมกับการแก้ปัญหา เป็นการจูงใจผู้เรียนให้เรียนรู้การแก้ปัญหาโดยผ่านการสืบเสาะหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยการค้นพบตนเองและจากการทำงานเป็นกลุ่ม 

2. ความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

สมทรง สิทธิ (ม.ป.ป. : 30) กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning : PBL) หมายถึง เป็นสภาพการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็น เครื่องมือในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย เน้นการให้ผู้เรียนเผชิญสถานการณ์ปัญหา จริง หรือสภาพการณ์ให้ผู้เรียนเผชิญปัญหา วิธีการเรียนรู้ที่เริ่มต้นด้วยการใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ จากแหล่งวิทยาการที่หลากหลาย เพื่อนำมา ใช้ในการแก้ปัญหา โดยที่มิได้มีการศึกษา หรือเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวมาก่อน 
ชวลิต ชูกำแพง (2551 : 135) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นรูปแบบการเรียนรู้ ที่เกิดจากแนวคิดตามทฤษฏีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้จากการใช้ ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นริบทของการเรียนรู้ 
มัณฑรา ธรรมบุศย์ (2545 : 11-17) กล่าวว่า การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based Learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตามแนวคิดตามทฤษฎีการ เรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิด ขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นบริบท (Context) ของการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิด
วิเคราะห์และการแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขากลุ่มสาระที่ตนศึกษาด้วย การเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก
วัลลี สัตยาศัย (2547 : 16) กล่าวว่า การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ PBL คือ วิธีการเรียนรู้ที่เริ่มต้นด้วยการใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าศึกษาความรู้ด้วยวิธี การต่างๆจากแหล่งวิทยาการที่หลากหลาย เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยมีการศึกษาหรือเตรียมตัว ล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวมาก่อน
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน คือ วิธีการที่นักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเรียนรู้โดยใช้ประเด็น สำคัญในกรณีปัญหาที่เป็นจริงหรือกำหนดขึ้น เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเองโดยการสืบ ค้นข้อมูลหาความรู้หรือทักษะต่างๆแล้วนำความรู้ที่ค้นหามาเล่าสู่กันฟังพร้อมทั้งร่วมกันอภิปรายร่วม กันเรียนรู้แล้วลงสรุปความรู้ใหม่


3. กลไกพื้นฐานในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน


ในการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักนั้นสิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ การให้ผู้
เรียนได้ผ่านการเรียนรู้ต่างๆอย่างครบถ้วน 3 ประการ คือ
1. Problem-based Leaning คือ ขบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้ “ปัญหา” เป็นหลัก ใน
การแสวงหาความรู้ด้วยกลวิธีหาข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมติฐานอันเป็นการแก้ปัญหานั้น โดยผู้เรียนจะ
ต้องนำปัญหาเชื่อมโยงกับความรู้เดิม ความคิดที่มีเหตุผล และมีการแสวงหาความรู้ใหม่ขบวนการ
เรียนรู้แบบ Problem-based สามารถเกิดขึ้นได้กับการเรียนรายบุคคล หรือการเรียนกลุ่มย่อยได้ แต่การ
เรียนแบบกลุ่มย่อยจะช่วยให้รวบรวมแนวคิดในการแก้ปัญหาได้กว้างขวางมากกว่า
2. Self-directed Learning คือ ขบวนการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการใช้ความ
รู้ความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบทั้งในด้านการกำหนดการดำเนินงานของตนเอง และการประเมินผลของตนเอง ตลอดจนการวิพากษ์วิจารณ์งานของตนเอง
ด้วย
3. Small-group Learning คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนได้
พัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นทีม และยอมรับประโยชน์ของการทำงานร่วมกัน
ค้นคว้าหาแนวความคิดใหม่ๆ

4. กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

กูด (Good. 1973 : 25-30) ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมี 7
ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มผู้เรียนทำความเข้าใจคำศัพท์ ข้อความที่ปรากฏอยู่ในปัญหาให้ชัด
เจน โดยอาศัยความรู้พื้นฐานของสมาชิกในกลุ่ม หรือการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารตำราหรือสื่ออื่นๆ
ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มผู้เรียนระบุปัญหาหรือข้อมูลสำคัญร่วมกัน โดยทุกคนในกลุ่มเข้า
ใจปัญหา เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดที่กล่าวถึงในปัญหานั้น
ขั้นตอนที่ 3 กลุ่มผู้เรียนระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ปัญหาต่างๆอธิบายความเชื่อมโยง
ต่างๆของข้อมูลหรือปัญหา
ขั้นตอนที่ 4 กลุ่มผู้เรียนกำหนดและจัดลำดับความสำคัญของสมมติฐาน พยายามหา
เหตุผลที่จะอธิบายปัญหาหรือข้อมูลที่พบ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน การแสดงความคิด
อย่างมีเหตุผล ตั้งสมมติฐานอย่างสมเหตุสมผลสำหรับปัญหานั้น
ขั้นตอนที่ 5 กลุ่มผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อค้นหาข้อมูลหรือความรู้ที่
จะอธิบายหรือทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าความรู้ส่วนใดรู้แล้ว ส่วนใดต้อง
กลับไปทบทวน ส่วนใดยังไม่รู้หรือจำเป็นต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติม
ขั้นตอนที่ 6 ผู้เรียนค้นคว้ารวบรวมสารสนเทศจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆเพื่อ
พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่ 7 จากรายงานข้อมูลหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้มา กลุ่มผู้เรียนนำมา
อภิปราย วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แล้วนำมาสรุปเป็นหลักการและประเมินผลการ
เรียนรู้
พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ (2544 : 42) ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาไว้ดัง
นี้
1. ทำความเข้าใจกับปัญหาเป็นอันดับแรก
2. แก้ปัญหาด้วยเหตุผลทางคลินิกอย่างมีทักษะ
3. ค้นหาการเรียนรู้ด้วยระบวนการปฏิสัมพันธ์
4. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
5. นำความรู้ที่ได้มาใหม่ในการแก้ปัญหา
6. สรุปสิ่งที่ไดเรียนรู้แล้ว
สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ (2550 : 8) ได้แบ่งขั้นตอนการจัดการ
เรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานไว้ ดังนี้
ขั้นที่ 1 เชื่อมโยงปัญหาและระบุปัญหา เป็นขั้นที่ครูนำเสนอสถานการณ์ปัญหาเพื่อ
กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจและมองเห็นปัญหา สามารถระบุสิ่งที่เป็นปัญหาที่ นักเรียนอยากรู้
อยากเรียนและเกิดความสนใจที่จะค้นหาคำตอบ
ขั้นที่ 2 กำหนดแนวทางที่เป็นไปได้ นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการศึกษา ค้นคว้า
ทำความเข้าใจอภิปรายปัญหาภายในกลุ่ม ระดมสมองคิดวิเคราะห์ เพื่อหาวิธีการหาคำตอบ ครูคอย
ช่วยเหลือกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายภายในกลุ่มให้นักเรียนเข้าใจวิเคราะห์ปัญหาแหล่ง ข้อมูล
ขั้นที่ 3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า นักเรียนกำหนดสิ่งที่ต้องเรียน ดำเนินการศึกษาค้น
คว้าด้วยตนเองด้วยวิธีการหลากหลาย
ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้ นักเรียนนำข้อค้นพบ ความรู้ที่ได้ค้นคว้ามา แลกเปลี่ยน
เรียนรู้ร่วมกัน อภิปรายผลและสังเคราะห์ความรู้ที่ได้มาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด
ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินค่าของคำตอบ นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลงานของกลุ่มตน
เอง และประเมินผลงานว่าข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยพยายามตรวจ
สอบแนวคิดภายในกลุ่มของตนเองอย่างอิสระทุกกลุ่มช่วยกันสรุปองค์ความรู้ในภาพรวมของปัญหา
อีกครั้ง
ขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบองค์ความรู้
และนำเสนอเป็นผลงานในรูปแบบที่หลากหลาย ครูประเมินผลการเรียนรู้และทักษะกระบวนการ
ปิ่นนเรศ กาศอุดม (2542 : 24) ได้กล่าวถึงกระบวนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การเตรียมแผนการสอน ได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์ และเนื้อหาขั้นพื้นฐาน
ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาหาความรู้ การสร้างปัญหาที่สอดคล้องกับความจริง ที่ปรากฏอยู่ในชุมชน หรือ
สังคม และแนวทางการประเมินผล เพื่อเสริมการเรียนรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง
2. การบริหารการเรียนการสอน ขั้นตอนนี้เป็นการนำแผนซึ่งเตรียมไว้ในขั้นตอนที่
1มาใช้กับผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการที่สำคัญ 3 ประการ คือ
2.1 การระบุปัญหา ผู้เรียนจะพบกับปัญหาที่ผู้สอนได้ตั้งไว้ให้ และผู้เรียนจะต้อง
ค้นคว้าหาความรู้ให้ได้ว่า ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร ใช้กระบวนการคิดที่มีแหตุผลด้วย วิธีการเชื่อมโยง
ความรู้เดิมมาประยุกต์ให้เกิดความคิดในสิ่งใหม่
2.2 การเรียนการสอนเป็นกลุ่มย่อย การจัดให้ผู้เรียน เรียนเป็นกลุ่มย่อย เป็นวิธี
การที่เหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระดมความรู้มาช่วยแก้
ปัญหา และเกิดความรู้ใหม่ ในเวลาเดียวกัน ผู้เรียนและผู้สอนได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดที่กำหนด
ไว้ ในระยะนี้ ผู้เรียนจะกำหนดแนวทางการค้นคว้า หาความรู้เพื่อนำมาแก้ไขต่อไป ด้วยการแบ่งภาระ
หน้าที่ให้สมาชิกไปศึกษาหาความรู้
3. การประเมินผลการเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนรู้เน้นที่การให้ผู้เรียนได้
ประเมินตนเอง และประเมินผลสมาชิกในกลุ่มด้วย ฉะนั้นการประเมินผลจึงนิยมใช้เพื่อการประเมิน
ความก้าวหน้าของผู้เรียนผู้สอนจะทำการประเมินเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และนำข้อมูล
มาบอกผู้เรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
สมทรง สิทธิ (ม.ป.ป. : 30) ได้กล่าวถึงกระบวนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
โดยมี 6 ขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดปัญหา
2. ทำความเข้าใจปัญหา
3. ดำเนินการศึกษาค้นคว้า
4. สังเคราะห์ความรู้
5. สรุปและประเมินค่าของคำตอบ
6. นำเสนอและประเมินผลงาน
จากที่กล่าวมาข้างต้นขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานมีหลายขั้นตอน
ในการจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนต้องกำหนดขั้นตอนให้เหมาะสมกับนักเรียน ระดับชั้น สาระวิชา ตลอด
จนเนื้อหาสาระในการเรียนแต่ละครั้ง สำหรับการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้รูปแบบขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
แบบใช้ปัญหาเป็นฐานของสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นกรอบความคิด
ในการวิจัย มี 6 ขั้นตอนตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะเป็นขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ที่ไม่ยุ่งยากและ
ซับซ้อนเกินไป
5. ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน


มัณฑรา ธรรมบุศย์ (2545 : 11-7) กล่าวว่า ลักษณะที่สำคัญของ PBL ได้แก่
1. ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง
2. การเรียนรู้เกิดจากกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก
3. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้ให้คำแนะนำ
4. ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
5. ปัญหาที่ใช้มีลักษณะคลุมเครือ ไม่ชัดเจนปัญหาหนึ่งอาจมีคำตอบได้หลายคำตอบ
หรือแก้ไขปัญหาได้หลายทาง
6. ผู้เรียนแก้ไขปัญหาด้วยการแสวงหาความรู้ใหม่ๆด้วยตนเอง
7. ประเมินผลจากสถานการณ์จริง โดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ 
6. บทบาทผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ตามกระบวนการของหลักสูตรก่อนที่จะนำหลักสูตรไปใช้ ต้องมีกระบวนการเตรียม
ความพร้อมขององค์ประกอบทุกๆด้าน ทั้งด้านเอกสาร บทเรียน ผู้สอน นักเรียน และสิ่งอำนวยความ
สะดวกในการเรียน สำหรับองค์ประกอบด้านผู้สอน ในการเรียนแบบที่ใช้ปัญหาเป็นฐานนี้ ผู้สอนมี
บทบาทที่แตกต่างกันไปจากเดิม อาจารย์จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ให้ความรู้ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้
เรียนเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่อาจารย์จะต้องมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน สร้าง
บทเรียนที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเป็นหลัก ซึ่งในนี้จะกล่าวถึงบทบาทของผู้สอนที่จะทำหน้าที่
ในการอำนวยความสะดวกในการเรียน (Facilitator or Tutor) ให้ผู้เรียนเท่านั้น
บทบาทของ (Facilitator or Tutor)
1. ใช้คำถามนำและคำถามปลายเปิด
2. ช่วยผู้เรียนสะท้อนประสบการณ์ที่ผู้เรียนมีอยู่
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างอิสระ
4. เป็นพี่เลี้ยงดูแลให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน และให้การอภิปรายอยู่ใน
กรอบที่กำลังศึกษา
5. ตั้งประเด็นที่จำเป็นในการพิจารณาและอภิปรายร่วมกัน
6. ให้แนวทางในการค้นคว้าหาความรู้ ตลอดจนกระบวนการเรียนอย่างระมัดระวัง
7. กระตุ้นและให้การสนับสนุนผู้เรียน
8. จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย ให้ผู้เรียนแต่ละคนมีความพอใจ
และไม่กลัวต่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น 
7. ประโยชน์ของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

โสภณ บำรุง และสมหวัง ไตรต้นวงศ์ (2536 : 25-35) กล่าวถึงประโยชน์ไว้ดังนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องข้อ
มูลข่าวสารในโลกปัจจุบัน
2. เสริมสร้างความสามารถในการใช้ทรัพยากรของผู้เรียนได้ดีขึ้น
3. ส่งเสริมการสะสมการเรียนรู้ และการคงรักษาข้อมูลใหม่ไว้ได้ดีขึ้น
4. เมื่อใช้ในการแก้ปัญหาของสหสาขาวิชา ทำให้สนับสนุนความร่วมมือมากกว่า
การแข่งขัน
5. ช่วยให้เกิดการตัดสินใจแบบองค์รวมหรือแบบสหสาขาวิชาสำหรับปัญหาสุขภาพที่สำคัญ 
8. การประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ (2544 : 123-128) กล่าวถึงการประเมินผลของการเรียนรู้ โดย
ใช้ปัญหาเป็นฐานว่า เมื่อได้มีการพัฒนาวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เครื่องมือการประเมินผล
สอดคล้องกับแนวทฤษฎีที่ต้องใช้ในการประเมินการพัฒนาของผู้เรียนมีการบูรณาการวิธีการเรียนรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเข้าไว้เป็นการพัฒนาแผนการเรียนรู้ วิธีการประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน ได้แก่
1. แฟ้มงานการเรียนรู้
2. บันทึกการเรียนรู้
3. การประเมินตนเอง
4. ข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อน
5. การประเมินผลรวบยอด
                                                                     *************************************

วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)

วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)  

โดย  น้ำทิพย์  ม่วงปลอด 










  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนให้ความรู้ตามเนื้อหาสาระด้วยการเล่าอธิบายแสดงสาธิตโดยที่ผู้เรียนเป็นผู้ฟังเพียงอย่างเดียว อาจเปิดโอกาสให้ซักถามปัญหาได้บ้างในตอนท้ายของการบรรยาย
ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบบรรยาย
1. เป็นการสอนที่เน้นเนื้อหาสาระที่นำเสนอโดยครูผู้สอน ผู้บรรยายจะเสนอปัญหาวิธีการ
ต่างๆในการแก้ปัญหา และสรุปด้วยว่าวิธีการใดเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดตามหลักการ
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้หลายๆแนวคิดก่อนที่จะสรุปเป็นข้อคิดหรือทางเลือกที่เหมาะสม
ข้อดีของวิธีสอนแบบบรรยาย
1. ดำเนินการสอนได้รวดเร็ว
2. ง่ายต่อการสอนเพราะไม่ต้องเตรียมสื่อการสอน เพียงแต่ครูเตรียมเนื้อหาสาระที่จะสอน
ล่วงหน้าก็เพียงพอ
3. สามารถใช้สอนได้ในเวลาอันจำกัด ส่งเสริมทักษะในการย่อและเขียนสรุป

ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบบรรยาย
1. หากผู้เรียนมีความตั้งใจฟังการบรรยาย จะช่วยเสริมทักษะในการสรุปความ
2. ผู้สอนต้องรู้จักการสร้างบรรยากาศด้วยวาทศิลป์ เพื่อมิให้ผู้ฟังสูญเสียความสนใจ
3. สาระที่ได้จากการบรรยายมิได้เกิดจากการเรียนรู้ที่เกิดกับผู้เรียนโดยตรง แต่เป็นสาระ
ความรู้ที่ได้จากการบอกเล่าจากครูผู้สอน

4. ความรู้ที่ได้รับจากการฟังเพียงอย่างเดียวอาจลืมง่าย เป็นความทรงจำที่ไม่ถาวร